โรงเรียนวิถีพุทธ คืออะไร
คือโรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรม- พระพุทธศาสนามาใช้ หรือประยุกต์ ใช้ในการบริหาร และการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา เน้นกรอบ การพัฒนาตามหลักไตรสิกขาอย่างบูรณาการ ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้พัฒนาการกิน อยู่ ดู ฟัง ให้เป็นโดยผ่านกระบวนการ ทางวัฒนธรรม แสวงปัญญาและมีวัฒนธรรม เมตตา เป็นฐานการดำเนินชีวิต
ทำไมต้องจัดโรงเรียนวิถีพุทธ
ดร. สิริกร มณีรินทร์ รมช.ศธ. วิถีพุทธเป็นวิถีวัฒนธรรมของชาวไทยส่วนใหญ่แต่เดิมมา พุทธธรรมมุ่งเน้น ให้ผู้ศึกษาเข้าใจชีวิตแท้จริง และสามารถ ดำเนินชีวิต (กิน อยู่ ดู ฟัง) ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม พุทธธรรมมีระบบการศึกษา 3 ประการ
คือ ไตรสิกขา หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นการฝึกอบรมที่ครอบคลุม การดำเนินชีวิต ทุกด้านและบูรณาการสู่การพัฒนาชีวิตที่สมบูรณ์ได้
ลักษณะโรงเรียนวิถีพุทธ เป็นอย่างไร สถานศึกษาจัดพัฒนาผู้เรียนตามหลักพุทธธรรมอย่างบูรณาการ ส่งเสริมให้เกิดปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการคือ
1. สัปปุริสสังเสวะ คือ การอยู่ใกล้คนดี ใกล้ผู้รู้ มีสื่อที่ดี
2. สัทธัมมัสสวนะ คือ เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลักสูตรที่ดี
3. โยนิโสมนสิการ คือ มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ พิจารณาหาเหตุผลที่ดีและ ถูกวิธี
4. ธัมมานุธัมมปฎิบัตติ คือ ความสามารถที่จะนำความรู้ไปใช้ในชีวิตได้ถูกต้อง ตามธรรม
สถานศึกษาพัฒนางานในด้านต่าง ๆ คือ
1. ด้านกายภาพ จัดสภาพใกล้ชิดธรรมชาติ ชวนมีใจสงบและส่งเสริม การบริหาร จิตเจริญปัญญา
2. ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต จัดกิจกรรมที่บูรณาการไตรสิกขาโดยเน้น การกิน อยู่ ดู ฟัง ด้วยสติสัมปชัญญะรู้คุณค่าแท้
3. ด้านการเรียนการสอน มีหลักสูตรสถานศึกษา และจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการ พุทธธรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน อย่างชัดเจนต่อเนื่อง
4. ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ ส่งเสริมวัฒนธรรมแสวงปัญญา มีปฏิสัมพันธ์ ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกันทุกคน พยายามปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น
5. ด้านการบริหารจัดการ ร่วมกับผู้ปกครอง และชุมชนพัฒนานักเรียนและพัฒนา ซึ่งกันและกันตามวิถีพุทธทั้งนี้สถานศึกษาสามารถจัดจุดเน้นหรือลักษณะเฉพาะ ของตนเองได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาหรือบูรณาการพัฒนา กับกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการพัฒนาคุณธรรม 4 ประการ(ฆราวาสธรรม) ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้แก่ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ |